วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Another went by

รีวิวหนังสือเล่นๆ ละกัน เราเพิ่งอ่านหนังสือจบ หลังจากสลัดตัวขี้เกียจ หาเวลาอ่านหนังสือที่ซื้อมาจบไปสองเล่ม ว๊า แย่ๆ ปกติอ่านมากกว่า 2 เล่มต่อเดือนนะเนี่ย เอาเป็นว่ามาดูกันแล้วกันว่าอ่านเรื่องไรเนอะ แชร์กันหน่อย แนะนำกันได้ค๊า
หนังสือ : Herr Jensen Steigt Aus/ ชายผู้ถอนตัวจากโลก
สำนักพิมพ์: สำนักพิมพ์วงกลม
herr jensen steigt aus
เล่มนี้ได้มาจากงานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ผ่านมา ลดเหลือ 100 บาท สิ่งที่ทำให้อยากลองอ่านหนังสือเล่มนี้เพราะเห็นว่าเป็นวรรณกรรมแปลจากทางประเทศเยอรมัน เราเองก็ล้างลาจากภาษาเยอรมันนานแล้วเลยรู้สึกคิดถึง ประกอบกับไม่เคยอ่านงานเขียนประเภทวรรณกรรมร่วมสมัยจากประเทศนี้เลย จึงอยากขอลองท้าดู (เพราะมีคนบอกว่าอ่านยากนะ หนักนะ ยิ่งห้ามมันก็เหมือนยื่งยุยังไงก็ไม่รู้เนอะ)
เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ อ่านภายในวันเดียวก็จบแล้วค่ะ การใช้คำไม่ได้ยาก ไม่ได้มีคำศัพท์อะไรหรูหรา เป็นการบอกเล่าจากสายตาของคนบรรยาย สลับกับบทสนทนาของตัวละคร ซึ่งตัวละครสำคัญคือคุณเจนเซ่น เป็นคนส่งจดหมาย ที่ตอนแรกอยากทำงานนี้ มีรายได้ อยู่ได้ เอาตัวรอดไปวันๆ ไม่ได้ต้องการความก้าวหน้าอะไร ไม่ได้อยากแข่งขันเป็นใหญ่กับใคร และเมื่อวันหนึ่งเขาตกงานขึ้นมา เขาจึงได้เปลี่ยนตัวเอง ตั้งคำถามกับตัวเองครั้งใหญ่ว่าความจริงแล้วการที่ทุกคนต้องเรียน ต้องทำงาน ตั้งความหวังโน่นนี่ มันจำเป็นจริงๆ หรือเปล่า หรือเป็นเพราะสังคมบีบให้เป็นเช่นนั้น
อ่านไปแรกๆ จะคิดหมั่นไส้ตัวละคร หรือรำคาญเล็กน้อย แต่อ่านไปเรื่อยๆ จะเริ่มสงสัย เพราะวิธีการเขียนบรรยายต่างๆ กระตุ้นให้ผู้อ่านได้คิดตาม อีกทั้งเรื่องเหล่านี้ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา ไม่ใช่เรื่องแฟนตาซีแต่อย่างใด จบเรื่องแล้วบางคนอาจคิดว่า "อะไรเนี่ย เรื่องอะไร หมายความว่าไง" แต่มันเป็นเรื่องดีที่เราคิดแบบนั้น เพราะคำถามเหล่านั้นบังคับให้เรานั่งไตร่ตรองว่าตัวละครเหล่านี้ต้องการอะไร จนเราต้องเปิดหน้าบทวิเคราะห์ในตอนท้ายว่าคนอื่นเขามีความคิดเห็นกับเรื่องนี้เหมือนตัวเราหรือเปล่า
เรื่องที่ 2 นักเขียนคนโปรดของเราเอง คุณวินทร์ เรียววารินทร์ ได้มาจากงานหนังสือเช่นกัน
หนังสือชื่อ: เส้นสมมุติ
ซื้อจากบู๊ทหนังสือคุณวินทร์
เป็นหนังสือในสไตล์ "สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน" รวมเรื่องสั้นหลายๆ เรื่อง หลายๆ แนว (แต่ไม่หลากหลายรูปแบบเท่ากับหนังสือ "สิ่งมีชีวิตที่เรียนกว่าคน") ตามสไตล์วินทร์เหมือนเดิมก็คือ แต่ละเรื่องเป็นการจบแบบหักมุม สะท้อนสังคม พูดผ่านตัวละครแบบตรงไปตรงมา เจ็บๆ แสบๆ คันๆ เหมือนโดนเอากระดาษทรายมาถูตัวยังไงยังงั้น
ส่วนตัวแล้วรู้สึกว่า "สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน" สนุกกว่า อาจจะเป็นเพราะตัวเองอ่านของนักเขียนคนนี้มาเยอะแล้วหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ เพราะบางเรื่องก็พอเดาออกว่าจะจบอย่างไร
ไว้แค่นี้ก่อนละกัน มีไรเพิ่มเติมจะมาแชร์นะคะ

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

ใกล้แค่เอื้อม

Jim Thompson's House & Museum
บางทีของดีที่อยู่ใกล้ตัวเรากลับไม่ใฝ่หาหรือเสพรับเอาไว้ กลับไปไขว่คว้า เสาะแสวงหาที่อันไกลโพ้นออกไป ไม่ได้คิดว่าสิ่งที่ไกลตัวนั้นไม่ควรรู้หรือต่อต้านการไปที่นั่นแต่อย่างใด เพียงแต่การหวังอยากจะไปในที่แสนไกลนั้นๆ มันเหมือนฝันลมๆ แล้งๆ และเมื่อฝันมากๆ บางทีไม่ได้ไป ก็จะพลอยทำให้เศร้าว่าทำไมเราไม่ได้ไปสักที
ผู้เขียนเองก็อยากบอกว่า กรณีข้างต้นตนเองเป็นบ่อยเหมือนกัน พอเมื่อไม่นานนี้ เป็นโอกาสอันเหมาะ แอบปลีกตัวออกมาและทนกับอากาศร้อนเล็กน้อย จึงได้ไปเยี่ยมบ้านบุคคลสำคัญที่ทำให้เมืองไทยมีชื่อเสียง นั่นก็คือบ้านคุณจิม ทอมป์สัน ชาวอเมริกาที่ตัดสินใจย้ายมาอยู่เมืองไทยถาวรหลังปลดประจำการราชการกองทัพสหรัฐฯแล้ว คุณจิมรักและหวงแหนในศิลปะ เอกลักษณ์ของไทย โปรโมทผ้าไหมไทยไปยังต่างแดนจนเป็นที่รู้จักกันในนาม King of Thai Silk หรือ ราชาไหมไทยนั่นเอง
นั่งรถไฟฟ้าลงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ จากนั้นเดินเข้าซอยที่มีบันไดเลื่อนขึ้นบีทีเอสนั่นแหละค่ะ เดินเข้าไปจนสุดซอย ทีแรกผู้เขียนคิดว่าเข้าถูกซอยหรือเปล่า เดินมากลางซอยแล้วยังไม่เห็นป้ายเลย แต่ก็เชื่อว่าน่าจะถูกเพราะเห็นชาวต่างชาติเดินเข้าไปเรื่อยๆ แน่นอนว่าระหว่างเดินเข้าไปก็จะมีไกด์หลอกๆ (ไกด์ผี) อยู่เป็นระยะ ก่อนถึงบ้านคุณจิม จะเป็นห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน ผู้เขียนชีวประวัติคุณจิม ทอมป์สัน ห้องสมุดแห่งนี้อาคารเป็นแนวโมเดิล และมีกิจกรรมงานศิลป์ร่วมสมัยอยู่บ่อยครั้ง หากใครเลยเข้าไปชม เข้าไปร่วมกิจกรรมก็มาเล่าให้ฟังกันบ้างนะคะ ถัดตัวห้องสมุดนั่นก็คือบ้านและพิพิธภัณฑ์จิม ทอมป์สันนั่นเอง

เมื่อเดินเข้าไปทางซ้ายมือจะเป็นอาคารจัดนิทรรศการ (ส่วนใหญ่แนวศิลปะ ภาพยนตร์) ชั้นล่างเป็นร้านขายของ ทางด้านขวาจะมีที่ซื้อตั๋วเข้าชม สำหรับผู้เข้าชมผู้ใหญ่ราคา 100 บาท เด็กหรือนิสิต นักศึกษา ราคา 50 บาท งานนี้เป็นคนไทยก็ต้องเสียนะคะ ถัดจากที่ขายตั๋วเป็นร้านอาหารไทยที่มีบ่อปลาคราฟตัวโตว่ายไปมา ถึงผู้เขียนจะเข้ามาเยี่ยมในวันที่อากาศแสนร้อน แต่รอบๆ บริเวณบ้านกลับร่มเย็น มีต้นไม้ใหญ่บังแดดให้สำหรับคนที่กลัวสิวและฝ้า
พนักงานต้อนรับแต่งตัวแบบไทยประยุคเรียบร้อย ส่งยิ้มหวานเชื้อเชิญให้เข้าไปลงชื่อก่อนมีไกด์พานำเที่ยว ผู้เขียนไปกับคุณแม่ เป็นนักท่องเที่ยวคนไทยเพียง 2 คนในวันนั้น ก็คิดว่าคงได้ไปรวมกลุ่มกับชาวต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษสักกลุ่ม และตัวผู้เขียนคงได้ทำหน้าที่ล่ามให้คุณแม่เป็นแน่แท้ พอถึงเวลานัดแล้ว กลับมีไกด์ใจดีคนไทยเข้ามาทักทายพาเราเดินชมและพูดภาษาไทยตลอดการเดินชมในบ้าน ผู้เขียนแอบได้ยินไกด์ภาษาอื่นๆ นำเที่ยวชาวต่างชาติอยู่บ้าง ฟังแล้วแอบอิจฉา อยากรีบกลับไปฝึกภาษาที่ 3, 4, 5, 6, 7, 8……. เลยทีเดียวเชียว สำเนียงเป๊ะมากค่ะ
บ้านคุณจิมนั้นเป็นบ้านไม้สัก ทรงไทย 6 หลัง ที่นำมาประกอบและดัดแปลงให้กลายเป็นบ้านหลังเดียว มีสัดส่วนต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าในทุกสัดส่วน มีชั้นล่างไว้วางรองเท้า มีห้องสะสมเครื่องชามโบราณ ผืนผ้างานศิลป์ที่หาดูได้ยาก รวมถึงพระพุทธรูปมากมายที่คุณจิมสะสมไว้ด้วย ตัวอาคารบ้านทั้งหลังมีการตกแต่งในลักษณะของชาวตะวันตกที่ชื่นชอบงานศิลปะของทางตะวันออก แต่ยังคงสภาพบ้านและบรรยากาศให้เหมือนอยู่บ้านไทยเดิมมากๆ ห้องที่น่าสนใจที่สุดสำหรับผู้เขียนคือห้องรับรองแขกที่นอกจากผ้าปูเตียงจะเป็นลายไทยแบบบนฝาผนังวัดแล้ว ยังมีห้องน้ำที่ทางไกด์ใจดีบอกว่าเป็นห้องน้ำแบบชักโครกทันสมัยอีกต่างหาก หากแต่เป็นความประสงค์ของคุณจิมที่ไม่อยากให้เปิดให้สาธารณชนเข้าชม (เลยอด) อีกห้องที่น่าสนใจคือห้องทำงานของคุณจิมที่มีติดแอร์ตัวเล็กๆ ไว้ด้วย และแอร์ตัวนั้นก็ยังใช้งานได้อยู่ ก่อนจากกันไกด์ผู้ใจดีบอกเราว่า ความจริงแล้วมีทัวร์ไปเที่ยวไร่ไหมของจิม ทอมป์สันด้วย อยู่ที่โคราช เปิดเป็นบางช่วงเท่านั้น ฟังแล้วก็หู่ผึ่งอยากไปเที่ยวอีกแล้วค่ะ แต่เดี๋ยวต้องหาข้อมูลก่อน หรือใครใจดีอยากมาเล่ามาบอกก็เชิญเลยค่ะ
ด้วยอากาศที่ร้อนผู้เขียนเลยเดินเล่นในร้านขายของ ชาวต่างชาติชื่นชมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไหมไทยไปเป็นการใหญ่ แอบได้ยินสองสามีภรรยาคู่หนึ่ง ยืนอ่านคำทำนายไทยโบราณที่ทำเป็นของที่ระลึกด้วยความสนุกสนาน ปนแปลกใจ อ่านจบก็บอกกันว่า ซื้อไปสักอันแล้วกันนะ แค่ 2 ปอนด์เอง อืมมม มันถูกสำหรับเขาซินะ สำหรับผู้เขียนแล้ว ข้าเข้าชม 100 บาทนี้คุ้มมาก ทั้งบรรยากาศและความรู้ที่จะได้รับจากไกด์หลากภาษา เงินทั้งหมดนี้นอกจากใช้ทำนุบำรุงสถานที่อันมีความสำคัญยิ่งของไทยเรานี้แล้ว ยังแบ่งส่วนหนึ่งไปช่วยโรงเรียนคนตาบอดอีกด้วย ของดีอยู่ใกล้แค่เอื้อมแค่นี้ อย่าลืมแวะไปลองสัมผัสบ้างนะคะ  

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

Free Day


It’s been a while that I didn’t sit on the reddish sofa and watch moving picture from a giant screen. Especially, a person who just start the first job, try to balance many activities in her schedule and also the price of ticket in Thailand is expensive (approximately 160 Baht each). However, last week found I the precious free stuffs.
Geothe Insitute’s event had German Film week, which started from 20 – 26 February 2012. In my mind think only “Ich mochte eine Film sehen und Deutsch gehoren lesson.” (forgive me if my Deutsch is not good since I had learned long time ago), which could shout in English as “I want to see movie and my Deutsch listening lesson.” . Moreover, it’s free! After I went through with film list, I decided to go with Romantic Comedy called “Lila Lila” on Saturday evening.  Sending the mail was the next thing, in the next few minutes, there was a reply from officer of Geothe said that there were seats available for me and asking how many ticket I want. Oh holy……..! I forgot that normally people went to cinema with someone. Then, hurriedly me asked around and thought that I was silly to waste such time because there’s no one in my friend’s list will go to see German film with English subtitle. “I think I will go alone, so just one ticket for me” that was my answer.
On Saturday 25th February, 2012 was the day! The movie started around 19.00 p.m., going before time and filling my stomach with Ham+Cheese sandwich. The meal was free by paid with Starbuck cash card I had as my New Year lucky draw. Find the name from the booking list, getting the ticket and ready to see Lila Lia.
I’d got seat G9 where I sat quite close to screen and in the middle of the whole theatre. You might think it sounded great, but will you feel strange if the next 4 seats (both left and right) had no one. Yes, no one, just only me! So I had 2 things on my mind. First if the staff I talked through email made some kind of joke? Or he was just so kind and booked the middle because he thought it is the best seat. I laughed to myself, feeling graceful that he gave me new and strange experience of seeing movie like this.
Now, talking about the “Lila Lila” was about a story of David Kern, the waiter, who fell in love with Marie Berge, a literature student. He tried to impress this lovely girl by lying that the novel that he accidentally found in the tray of antique he bought was his own work. Well, the girl impressed, fell in love with him and sent the copy to publisher. Surprisingly, loved by publisher and turned out to be a hit for market too. While he was giving autograph for fans, one man named Jackey came and claimed he was the author of Lila Lila (which supposed to be dead long time ago by car accident). A mess came from Jackey trying to control and be part of David’s famous. Until he felt unhappy and Marie broke up with him. One day, David found out that Jackey was a fault like him. He knew the author, but not the real author. Jackey was trying to stop angry David and fell off the hotel’s balcony. David wrote for the first time a story named “Das Nachttisch” or a bedside table about Marie and him. Well like other Romantic, it ended happy with Marie came back to him.
It might sound simple, but to watch and see different kind of joke and the way of human expression is kind of fun and very interesting in my opinion. Thank you for free stuffs that make my free day not just another silent day.

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

Review- ในกระจก: วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน

Review  ในกระจก: วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน
สวัสดีปีใหม่ค่ะ อ่านหนังสือจบประเดิมเล่มแรกของปี 2555 ความจริงแล้วเล่มนี้ก็อ่านตั้งแต่ปีที่แล้วเนี่ยแหละ แต่ยาวมาจบวันที่ 31 ธันวาคม 2554 หนังสือเล่มนี้ซื้อมาจากงานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ผ่านมา เป็นหนังสือหนักอีกเล่มนึงเลยทีเดียว หนังสือชื่อ ในกระจก: วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมเรื่องสั้น ผลงานของนักเขียนระดับเทพหลายท่าน ซึ่งเดิมทีแล้วการรวมเรื่องสั้นเหล่านี้รวมและแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย ศาสตราจารย์เบเนดิกท์ แนเดอร์สัน (In the Mirror: Literature and Politics in Siam in the American Era) ผู้ช่ำชองวรรณคดีเอเชียเป็นอย่างยิ่ง ได้นำไปใช้เป็นสื่อการสอนในอเมริกา สำหรับคอร์ส หรือ คลาส ที่เกี่ยวกับประเทศไทย

หลังจากนั้นค่อยจัดทำและวางจำหน่ายเป็นภาษาไทย ภายใต้สำนักพิมพ์อ่าน
ขอเตือนไว้แต่แรกสำหรับผู้ไม่ชอบอ่านอะไรที่เป็นดราม่า เครียดๆ หนักๆ สะท้อนสังคม ออกแนวหดหู่ เพราะทุกเรื่องเป็นแนวนี้หมดค่ะ แค่เริ่มบทนำที่เขียนโดยคุณเบเนดิกท์เอง ก็หนักอึ้งเกือบร้อยหน้าเข้าไปแล้ว เป็นการอ่านบทนำที่ใช้เวลานานที่สุดเท่าที่เคยอ่านหนังสือเล่มไหนๆ มา แต่ก็สนุก ได้ความรู้ ทบทวนประวัติศาสตร์บ้านเรา ได้กระตุกปมความคิดให้ตั้งสติในหลายๆ ด้าน แต่ด้านทีทุกคนที่ได้หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านในคราวแรกคงหนีไม่พ้น ความทึ้งในความรู้ของชาวต่างชาติคนนี้ ที่ให้ข้อมูลทั้งด้านบวกและลบของสังคมในประเทศไทยอย่างรู้จริง
มาดู list เรื่องสั้นและคนแต่งกันบ้าง ลองดูตามแล้ว อ่านผ่านๆ ดูว่ามีเรื่องไหน หรือนักเขียนท่านไหนที่คุ้นชื่อบ้าง สำหรับตัวเราแล้วนั้น ขอยอมรับโดยสดุดีว่า ชื่อนักเขียนเคยคุ้นหูอยู่บ้าง แต่ชื่อเรื่องสั้นและผลงานเหล่านี้ ทำเอาเราคิดว่าเราเป็นผู้อ่านแบเบาะไปเลย เพราะไม่คุ้นและเคยผ่านตาสักนิด เอาเป็นว่าลองดูกันค่ะ แล้วบอกกันบ้างนะคะว่าคุ้น เคยอ่าน หรือรู้จักสักกี่ท่าน กี่เรื่อง
1.       กมลสันดาน โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
2.       เหมือนอย่างไม่เคย โดย วิทยากร เชียงกูล
3.       อีกไม่นานเธอจะรู้ โดย ลาว คำหอม
4.       มิชิแกนเทสต์ โดย วาณิช จรุงกิจอนันต์
5.       ก่อนถึงดวงดาว โดย วัฒน์ วรรณยางกูล
6.       แม่พระคงคา เถ้าแก่บัก และหมา โดย ศรีดาวเรือง
7.       หมู่บ้านรถไฟ โดย ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์
8.       คนอ่านหนังสือ โดย ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์
9.       ในกระจกเงา โดย กรณ์ ไกรลาศ
10.   ยาเม็ดสีชมพู โดย มานพ ถนอมศรี
11.   12.00 . โดย นิเวศน์ กันไทยราษฎร์
12.   กำไลคอ โดย สำรวม สิงห์
13.   ผืนน้ำและแผ่นดิน โดย ประทีป ชุมพล
ความจริงแล้วแต่ละเรื่องไม่ได้ยาวเลย แต่ด้วยเนื้อหาที่หนัก ทำให้อยากค่อยๆ ดู กลับไปอ่านอีกทีว่าเข้าใจถูกไหม เหมือนเราค้นหาเหตุผลของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อตาเรานั่น และถ้าไม่รวมบทนำ คำนำ บทสัมภาษณ์ ประวัตินักเขียนและอื่นๆ หนังสือเล่มนี้ก็คงบางกว่านี้ อาจจะขนาดเท่ากับหนังสือทั่วไปและคงถูกกว่า 350 บาทเป็นแน่
หลังจากตรงนี้ก็เป็นประวัติของนักเขียนแต่ละคน บทสัมภาษณ์คุณเบเนดิกท์ผู้แสนถ่อมตน บอกว่าตัวเองเชี่ยวชาญภาษาอินโดนีเซีย ได้แปลจากภาษาอินโดเป็นภาษาอังกฤษหลายเรื่องแล้ว แล้วคิดว่าภาษาอินโดง่ายที่สุดในแถบนี้ ยังได้บอกอีกว่า ตัวเองคงไม่ได้แตกฉานภาษาไทยอะไรนัก แต่ด้วยเนื้อเรื่องเหล่านี้ แล้วสามารถนำไปสอนชาวต่างชาติที่ภาษาแม่ห่างไกลกับภาษาไทยนัก รวมถึงนั่งวิจารณ์งานเขียน ให้ความเห็นเกี่ยวกับสังคมไทยได้มากมาย ลึกซึ้งยิ่งกว่าคนไทยบางคนแล้ว ขอบอกเลยว่าคุณเบเนดิกท์แตกฉานภาษานี้แล้วละค่ะ
คงเป็นอีกเรื่องที่อนาคตต้องมานั่งอ่านอีกรอบ แต่อ่านอีกรอบเนี่ยไม่แน่ว่าจะอ่านเหล่าเรื่องสั้นพวกนี้ แต่ที่เราสนใจอ่านอีกรอบคือตัวบทสัมภาษณ์ ประวัติผู้เขียนทั้งหลายและบทวิจารณ์ต่างหาก
ข้อเสีย (สำหรับตัวเรา) ของหนังสือเล่มนี้คือ เนื้อหาหนัก อ่านกันเหนื่อยหน่อย
ข้อดีคือ ได้เห็นว่า ความจริงแล้วก็มีต่างชาติชื่นชมผลงานบ้านเราเหมือนกัน ด้วยข้อความตรงบทสัมภาษณ์ของคุณเบเนดิกท์ทำให้เรารู้ว่า เรายังมีความ irony อยู่ในตัวพอสมควร และด้วยการอ่านบทสัมภาษณ์และคำนิยมแล้วก็ทำให้เราได้เปิดใจกับอีกหลายเรื่องมากขึ้น

ถึงตรงนี้ตอบคำถามตอนต้นหน่อยว่ามีใครคุ้นกี่ชื่อ กี่เรื่องกันบ้าง ^^

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

StilaD: Museum of Siam

StilaD: Museum of Siam: ตลอดสามเดือนที่ผ่านมามีอะไรเยอะแยะมากมายที่ต้องเรียนรู้และปรับตัว กว่าจะได้มีเวลามาพิมพ์งาน เขียนงาน ฝึกเขียนอีกครั้งก็ใกล้สิ้นปีแล้ว ได้แต่...

Museum of Siam

ตลอดสามเดือนที่ผ่านมามีอะไรเยอะแยะมากมายที่ต้องเรียนรู้และปรับตัว กว่าจะได้มีเวลามาพิมพ์งาน เขียนงาน ฝึกเขียนอีกครั้งก็ใกล้สิ้นปีแล้ว ได้แต่ทำตัวเป็นคนกรุงไปมารถไฟฟ้า กินข้าว เข้าออฟฟิส ไม่ได้มีเวลานั่งเงียบๆ อ่านหนังสือที่ตัวเองดองไว้เป็นชาติ หรือไปเที่ยวไหนเลย วันนี้เลยตัดสินใจว่เปลี่ยนบรรยากาศ ไปเที่ยวใกล้ๆก็ยังดี ทีแรกว่าจะไปนิทรรศกาล"รัตนโกสินทร์" แต่หาที่จอดไม่เจอ และได้ข่าวว่าเก็บค่าเข้าแพง (ใครมีข้อมูลแนะนำก็มาเม้นท์บอกต่อบ้างนะคะ) เลยเปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์สยาม หรือ Museum of Siam เป็นที่ที่เปิดได้สักพักแล้ว แต่เรายังไม่มีโอกาสได้เข้าสักที

เริ่มจากวนรถหาที่จอดก่อน เนื่องจากมีญาติแนะนำว่าให้หาทางเข้าให้เจอ เพราะข้างในเขามีที่จอดรถเหลือเฟือ เพียงแต่ไม่ค่อยมีใครรู้ เลยมักจอดซอยใกล้ๆแล้วเดินเข้ามากัน หากใครจะเข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ให้เข้าทางเข้าของกระทรวงพาณิชย์ค่ะ ยามจะให้บัตรจอดรถที่จอดได้ 4 ชั่วโมง แล้วอย่าลืมสแตมป์บัตรที่เคาเตอร์ซื้อตั๋วด้วยนะคะ


บรรยากาศข้างในร่มรื่น อาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบเก่า สภาพยังแข็งแรงอยู่ ยามที่เฝ้าประตูก็ใจดีแนะนำให้เราถ่ายรูปตึกสวยๆก่อนเข้า ชี้โน่นนี่ เชื้อเชิญให้ถ่ายรูปด้วยหน้ายิ้มแย้ม เข้าประตูไปก็เจอเจ้าหน้าที่ขายตั๋ว ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท แต่ผู้สูงอายุเข้าฟรีค่ะ พ่อแม่ผู้เขียนไม่ต้องเสีย ดีค่ะ ประหยัด ฮิๆๆๆๆ


พอจะเข้าชม เจ้าหน้าที่ก็มาเบรก (ซะงั้น) ไม่ให้เราเข้า บอกให้รอสักครู่ จะได้เข้าชมวิดีทัศน์ก่อน แล้วดูเป็นลำดับไป (อ๋อ อย่างงี้นี่เอง) เข้าไปเป็นการฉายหนัง 5 นาที บนผืนผ้าสีขาว เป็นภาพคนหลากหลายบทบาท แต่คำถามหลักที่อยากกระตุ้นให้เราคิดก็คือ "คุณเป็นคนไทยหรือเปล่า" แล้ว "คนไทยคืออะไร" ถ้าให้ผู้เขียนวิจารณ์แบบตรงๆ คือภาพ เสียง การลำดับน่าสนใจ แต่... ไม่ประทับใจ ยังกระตุ้นไม่พอ คำถามนั้นไม่หนักพอ ซึ่งผู้เขียนคาดว่า เป็นเพราะต้องการสื่อออกมาหลายๆด้าน ประกอบกับแต่ละ shot นั้น เป็นเหมือนบทนำของแต่ละส่วนในมิวเซียมที่เรากำลังจะเข้าชม


จบจากโรงหนังที่เรียกว่าห้อง "เปิดโรง" แล้วนั้น ต้องขึ้นไปชั้น 3 ห้อง สุวรรณภูมิ เล่าว่าแผ่นดินที่เราอยู่นั้นคืออะไร ทำไมจึงเรียกว่าสุวรรณภูมิ หลังจากห้องนี้ไปก็จะค่อยๆ เริ่มเป็นวิวัฒนาการของสยามประเทศ ตั้งแต่ดั้งเดิมว่า ชาวไทย ชาวสยาม ต้นกำเนิดมาจากสายพันธุ์ไหน ตั้งรกรากตรงนี้ได้อย่างไร เกิดประเทศสยามได้อย่างไร แล้วค่อยๆ เข้ามาเป็นกรุงศรีอยุธยา ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน การรบศึกสงคราม การค้าขาย ติดต่อต่างประเทศ ห้องแผนที่ จนถึงยุคปัจจุบัน

ตลอดการเข้าชมพิพิธภัณฑ์สยามนี้ ข้อดีคือ มีวิดีโอ interactive จำพวกเกม จอหนัง กิจกรรม เล่นแต่งตัว ให้ได้สัมผัส ทำให้เพลินได้อยู่บ้าง (คนที่อยากถ่ายรูปก็เต็มที่เลยนะคะ เขาไม่ห้ามค่ะ) ข้อ... ที่คิดว่าควรดีกว่านี้ (อย่าเรียกว่าข้อเสียเลยค่ะ) คือ สิ่งของต่างๆดูน้อยมาก อันนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะรวบรวมได้น้อยหรือเปล่า เพราะเท่าที่อ่านคำบรรยายแล้วนั้น คนบริจาคเป็นชื่อเดียวกันหมดเกือบทุกชิ้นเลยค่ะ วิดีโอ และที่เล่นบางอย่างเริ่มเสียหายแล้ว และบรรยากาศยังออกแนวอึมครึม เหมือนๆกับมิวเซียมที่อื่น ซึ่งความจริงแล้วนั้นบางห้องไม่จำเป็นต้องทำให้มืดก็ได้ แต่สรุปโดยรวมแล้ว ถือเป็นมิวเซียมที่ดีแห่งหนึ่งในไทยเลยก็ว่าได้ เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาด้านการศึกษาที่ดีเลยทีเดียว

จบทริปก็ลองแวะไปทำเหรียญที่ระลึก หรือเข้าร้านขายของซื้อข้องน่ารักๆ พวกสมุดโน้ตติดไม้ติดมือกลับไปก็ได้นะคะ

Opening Hours: Tuesday - Sunday and public holidays (closed Monday, Songkran Holiday, NewYear's Eve, New Year's Day) 10.00 am - 6.00 pm

Adress: National Discovery Museum Institute, Museum of Siam
 4 Sanam Chai Road, Phra Nakhon, Bangkok 10200
Tel: 02-225-2777
website: http://www.ndmi.or.th/

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

เด็กน้อยในเมืองผู้กล้า 4

บทที่ 3 Thai-lish vs. Scott-lish
พี่อะอยากจะร้องไห้ ฟังอะไรไม่รู้เรื่องเลยตอนแรก
ทีแรกผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่พี่สาวพูดมาหนะเวอร์แน่ๆ พี่สาวออกจะเรียนเก่ง คุยกับฝรั่งก็คล่อง จะฟังไม่ออกไม่รู้เรื่องได้ยังไงกัน พอไปเจอจริงๆก็ เอ่อ คือว่า คือ เอ่อ คือ ตัวฉัน แบบคือว่ามัน เผ่นดีไหมเรา คือเขาจะพูดสำเนียงแปล่งๆคะ ตัว “r” ก็จะม้วนลิ้นยิ่งกว่าสำเนียงคนอเมริกา แต่ไม่รัวเท่ากับ ในภาษาไทย เท่าที่ผู้เขียนได้ฟังมา1ปีกว่า คิดว่าการกระดกลิ้นนั้นใช้คนละส่วนของลิ้นคะ ของเขาน่าจะไปทางโคนลิ้นมากกว่า ส่วนของเราจะรัวกันที่ปลายลิ้นกันไป ถ้าใครที่เรียนPhonetics โดยตรงก็น่าจะเข้าใจนะคะ ส่วนสำเนียงของเราก็ทำเอาคนพื้นที่งงไม่น้อยเช่นกัน แบบว่าทำไมมันเน้นได้ทุกคำละเนี่ย
บางคำเขาก็พูดกันแบบสั้นๆไม่เต็ม เช่นคำว่า University เขาก็พูดกันแค่ Uni ผู้อ่านออกเสียงยังไงคะ สำหรับที่นั่น โดยเฉพาะลุงขับแท๊กซี่ที่เจอกันวันแรกนั้นพูดว่า ยู้นี่ ใช่คะ เหน่อมากคะ ทำเอาผู้เขียนงงกันตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้าเมืองกันเลยทีเดียว ทำนองว่านายด่านตอนลงที่สนามบินฮีทโทรยังไม่เป็นแบบนี้เลย ข้ามเขตมาแค่เนี่ยทำไมถึงต๊างต่าง แต่จะว่าไปแล้วสำเนียงของชาวสก๊อตจะมีโทนมากกว่าคนอังกฤษนะ
“Do you want fish and chips?”
“!!! Ah! Yes, please”
คือว่ามาอังกฤษ อาหารประจำชาติก็ฟิชแอนด์ชิป แต่ที่นี้ผู้เขียนแอบงงตรงคำว่าชิปเนี่ยแหละ ตามที่เราเคยรู้มาเนี่ยมันเป็นภาพของมันฝรั่งอบกรอบเลย์ลอยมา แล้วนี่ปลาทอดจะกินคู่กับมันฝรั่งอบกรอบเนี่ย มันจะเข้ากันหรือ แล้วพอเขายกมาให้ก็ถึงบางอ้อว่า มันคือเฟรนฟรายนั่นเอง แล้วเฟรนฟรายที่นี่ขนาดตามคนกินคะ ใหญ่ อ้วน มีเนื้อให้เคี้ยว ไม่กรอบเท่าไหร่ อีกอย่างที่ผู้เขียนงงแล้วทำเอาพี่สาวฮามากๆคือเรื่องขนมปัง
“Do you want soup with a roll?”
“a what?”
 “a roll”
“um! Is it free?”
“yes”
“then, I will have it”
ผู้เขียนรู้แค่ว่าตัวเองสั่งซุป แต่ที่เขาว่าโรว์เนี่ยมันคืออะไร ผู้เขียนพยายามคิดว่ามันคืออะไร ทำไมเขาต้องให้เรากลิ้งด้วย หรือเขาจะกลิ้ง หรืออะไรม้วนๆ ไม่เก็ตอย่างรุนแรง พอเขาเสิร์ฟมันก็เป็นซุปที่เราสั่งกับขนมปังก้อนกลมๆก้อนนึง
พี่คะ ไอ้คำว่า rollเนี่ยหมายถึงขนมปังหรอ
อ่าว ก็ใช่นะซิ แล้วเธอคิดว่ามันเป็นอะไรละ
ก็ไม่รู้อะ เขาพูดมาก็งงว่าทำไมเราจะต้องกลิ้งด้วย
ฮ่าๆๆๆๆๆ จะบ้าหรอ มากินข้าวใครเขาให้เธอกลิ้ง
อ่าว ก็ขนมปังกลมๆเล็กๆแบบนี้ปกติเขาเรียกว่า bunไม่ใช่หรอ
ก็ที่นี่เวลาเขาเสิร์ฟซุปกับขนมปังมันแล้วแต่ที่ว่าเขาจะมีขนมปังแบบไหน แล้วคำเรียกขนมปังโดยรวมนอกจากbread แล้วก็ยังมีคำว่า rollเนี่ยแหละ แต่คำว่าbunเขามักจะใช้กับขนมปังที่ใช้ทำเบอร์เกอร์มากกว่า
ณ ตอนนั้นหัวสมองก็กระจ่างใส(หรือกลวง)ขึ้นมาทันใด ที่แท้เราก็หลงผิดคิดว่าเขาให้เรากลิ้งอยู่นาน ความจริงเขาถามเราว่าจะเอาขนมปังกินกับซุปหรือเปล่านี่เอง พี่สาวก็คงฮากับความเปิ่นผู้เขียนคะ เลยเอาไปเล่าให้รุ่นพี่คนนึงฟัง หัวเราะท้องแข็งกันไปทั้ง2คนกับจินตนาการการแปลคำศัพท์ของเรา ไม่เป็นไรคะ ผู้เขียนเองยังฮาตัวเองเลยว่าคิดไปได้ว่าเขาให้กลิ้ง แต่ตอนนั้นมึน นึกไม่ออกจริงๆว่าที่เขาพูดต้องการจะสื่อว่าอะไร
มีเรื่องเล่าความฮาและเปิ่นของผู้เขียนอีกเรื่องนึง เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำที่คนอังกฤษและคนสก๊อตใช้ไม่เหมือนกันคะ บอกให้เป็นการเกริ่นเล็กๆว่าเกี่ยวกับคำว่า “Tea” ที่แปลว่าน้ำชานั่นแหละคะ เรื่องมีอยู่ว่าเพื่อนในชั้นเรียนเดียวกัน เป็นชาวคาซัสสถานขอให้เราช่วยสอนโปรแกรมคอมจำพวก Photoshop อะไรทำนองนั้นให้หน่อย ผู้เขียนเองก็ไม่ได้เก่งอะไรหรอก ก็พอรู้ในเรื่องที่เขาไม่เข้าใจบ้างเลยตอบตกลงไป ก็นัดเจอกันที่หอพักของเพื่อน ก็โอเคแหละคะเพราะว่าหอพักของเพื่อนคนนี้เป็นหอครอบครัวที่อยู่ในตัวมหาลัยเลย
ขอบคุณมากๆนะที่ช่วยอธิบาย ช่วยดูให้
ไม่เป็นไร ถ้าไม่มีอะไรแล้วเราขอตัวกลับหอพักก่อนนะ
กลับเลยหรอ อยู่ Have tea ก่อนไหม
อืม ก็ได้
ตอนนั้นเป็นเวลาประมาณบ่าย3โมงเกือบ4โมงแล้ว ผู้เขียนก็คิดว่าเพื่อนพูดถึงนั่งจิบน้ำชา คุยกันเล่นๆเพลินๆไป ผู้เขียนก็เลยตอบตกลง แต่ก็เริ่มงงๆเมื่อเพื่อนของผู้เขียนวิ่งไปมา พูดอะไรกับสามีในครัวก็ไม่รู้ แล้วออกมาพร้อมกับขนมจำพวกขบเคี้ยวและช็อคโกแลตจานโต ตามด้วยน้ำชาร้อนแก้วนึง มันก็ฟังดูโอเคสำหรับเวลาน้ำชาแบบผู้ดีใช่ไหมคะ ต่อมาเพื่อนผู้เขียนก็วิ่งไปเอาน้ำผลไม้มาเสิร์ฟอีก เอ ไหนว่าเวลาน้ำชา ทำไมมีน้ำผลไม้ด้วย ไม่เป็นไร นิดหน่อยมั้ง ผู้เขียนกับเพื่อนก็นั่งคุยไปเรื่อยๆ อีกแป๊ปนึงเพื่อนผู้เขียนก็วิ่งเข้าครัวไปอีกแล้ว เอาละซิ นี่ทำไมเวลาน้ำชามันยุ่งยากกว่าที่คิดเนี่ย คราวนี้ก็เป็นแคร็กเกอร์ ขนมปังกรอบ มาพร้อมกับแยมพีชทำเองและเนย คือจากของกินเหล่านี้แล้วยังเรียกว่าอยู่ในเมนูน้ำชาอยู่นะคะ แต่ด้วยขนาดแล้วเนี่ย ทำให้ผู้เขียนอดสงสัยไม่ได้ เพราะแยมพีชเนี่ยไม่ได้ใส่มาเป็นน้ำจิ้มเล็กๆ แต่เรียกเป็นโถจะเห็นภาพกว่า ผู้เขียนคิดว่าก็คงแค่นี้แหละ เพราะไม่น่าจะมีอะไรแล้ว เยอะแล้วเหมือนกัน ก็นั่งคุยกันไปตั้งแต่เรื่องการทำแยมเอง ทำอาหารเอง ประเทศเขาเป็นยังไง รายงานถึงไหนแล้ว เรื่อยเปื่อยตามภาษาสาวๆคุยเล่นกัน
เออ สามีเธอไม่ออกมานั่งคุยด้วยกันหรอ
อ้อ ไม่เป็นไรหรอก เขาโอเค เดี๋ยวขอตัวไปในครัวแป๊ปนึงนะ
ถ้าเธอไม่ว่างอยู่ ฉันค่อย.....
ผู้เขียนพูดไม่ทันจบเพื่อนก็วิ่งเข้าครัวไปเสียแล้ว ทีนี่ละคะ สิ่งไม่คาดคิดก็มาเป็นระลอก เริ่มจากเพื่อนออกมาพร้อมกับสลัดมันฝรั่งบดที่โรยหน้าด้วยชีสท่วมท้น ใช่คะ มันเริ่มไม่ใช่เมนูเวลาน้ำชาแล้ว แต่มันยังไม่จบแค่นี้คะ มันยังมีตามด้วยพริกหยวกยัดไส้มาอีก ผู้เขียนก็อึ้งคะ เขายกมาแล้วจะบอกว่าไม่กินก็ไม่ได้ พริกหยวกเป็นแบบต้มหรือตุ๋นจนเปื๋อยนิ่มแล้ว หวานมากด้วย ข้างในเป็นข้าวกับเนื้อ เราก็แกล้งเนียน กินไปคุยไป
อร่อยมากเลย ทำเองหรอ
ใช่ ฉันทำเองแหละ ของพวกนี้เราทำเองหมดเลย
ทำกับข้าวเก่งนะเนี่ย
ในใจผู้เขียนคิดว่านี่เป็นการใช้เวลาน้ำชาได้นานและอิ่มมากๆ ก็คุยกันไป เล่นกับลูกเขาไป ไม่รู้ว่าเราเล่นกับเขาหรือว่าลูกเขาเล่นกับผู้เขียนกันแน่ เพราะตอนนั้นผู้เขียนอิ่มจนรู้สึกว่าตัวเองจะกลายเป็นลูกบอลอยู่แล้ว ตบท้ายยังมีส้มหั่นมาให้ผู้เขียนทาน แล้วยังให้พกแอปเปิลกับช๊อคโกแลตกลับหอพักอีก ตอนกลับถึงหอพักเป็นเวลา5โมงกว่าๆได้ ซึ่งปกติเป็นเวลาที่ผู้เขียนจะต้องทำกับข้าวแล้วก็ทานข้าวเย็น แต่ผู้เขียนไม่มีแรงทำและไม่มีที่เหลือในท้องแล้ว
วันนี้กินอะไรละเรา
เออ กินเยอะมากๆเลยแหละ เป็นการกินน้ำชาที่อิ่มมาก คิดว่าจะไม่กินข้าวเย็นแล้ว อิ่มได้ถึงเช้าเลยตอนนี้
หมายความว่าไงเนี่ย กินน้ำชาแล้วอิ่มเหมือนกินข้าวเย็น งงไปหมดแล้ว
ไม่มีอะไร คือไปช่วยสอนคอมที่หอเพื่อนนิดหน่อย แล้วเขาก็เลยชวนกินน้ำชา แต่ไม่นึกว่าจะมาเป็นคอสอาหารเต็มสูตรอะ
เอ่อ พี่ว่าเราเจอคำว่า teaในความหมายของคนสก๊อตแล้วแหละ
หมายความว่าไงอะ
ก็คำว่า tea ของคนสก็อตเขาหมายถึงกิน dinner นะซิ
นั่นแหละคะ ผู้เขียนก็ได้คำตอบจากพี่สาวไปว่าเขาชวนกินข้าวเย็นกันแบบนี้ ถ้าเป็นเวลาน้ำชาเขาจะพูดว่า tea time แต่ถ้าคนสก๊อตพูดคำว่า teaเฉยๆเนี่ยให้คิดไว้ว่าเป็นทานข้าวเย็นคะ ที่ตลกคือคนที่ใช้คำนี้กับผู้เขียนไม่ใช่ชาวสก๊อตแต่เป็นคาซักสถาน สรุปว่าผู้เขียนก็ประหยัดค่าข้าวไปได้มื้อนึงและได้คำศัพท์ใหม่ประจำวันมาอีกคำด้วย
ส่วนคำอื่นๆก็จะมีคำว่า quid ที่ใช้แทนคำว่า pound ที่เป็นค่าเงินของอังกฤษ แต่ถ้าเราไม่พูดก็ไม่เป็นไร ไม่ได้สับสนอะไรมากคะ อีกอันรายการคริส ดีลิเวอร์รี่คงอธิบายไปเรียบร้อยแล้วเกี่ยวกับเรื่องการเรียกเก็บเงิน คนไทยเราเรียก 2อย่าง ทั้งแบบอังกฤษและอเมริกันรวมกันนะคะ ก็ใช้แค่อันเดียวพอนะคะ บอกบริกรไปว่า “Can I have a bill please?” เท่านี้ก็พอแล้วคะ สำหรับใครที่จะไปเรียนสก๊อตแลนด์ไม่ต้องห่วงเรื่องฟังไม่รู้เรื่องเพราะคนที่ไปตอนแรกทุกคนก็มึนงง ไม่รู้เรื่องพอๆกันคะ บอกเขาไปเลยว่าพูดช้าๆหน่อยได้หรือเปล่าเราฟังไม่ทัน ถึงแม้เราจะฟังทันเราฟังซ้ำอีกรอบไว้จะดีกว่า พอผ่านไปสัก2-3สัปดาห์หูและสมองของเราก็จะเริ่มปรับสภาพได้แล้วก็เข้าใจมากขึ้นเองคะ พยายามตั้งสติเวลาฟังก็พอคะ
ขอเรื่องส่งท้ายบทนี้นิดนึง ผู้เขียนไปเที่ยวกับเพื่อน(ที่ไม่ได้เรียนอยู่ในสก๊อตแลนด์)ที่เมืองกลาสโกว การสื่อสารไม่เพียงท้าทายสำหรับเรา แต่มันเป็นการท้าทายสำหรับคนพื้นเมืองที่นั่นด้วยเช่นกัน เพราะผู้เขียนพยายามสื่อสารกับคนขับรถเมล์แล้วมึนกันทั้ง2ฝ่าย
“how can I go to Kevingroove Museum?”
“….say that again!”
“how can I go to Kevingroove Museum?” (แบบสะโลสุดๆพร้อมท่าชี้แผนที่ประกอบ)
“I don’t understand what’ve you said!”
“….. want to go to this” ชี้ที่แผนที่แล้วยื่นให้คนขับรถเมล์
“Oh! I see come with me and I will show you……”
แล้วคนขับรถเมล์ก็พาเราไปที่รถคันที่ไปพิพิทธภัฑณ์ ผู้เขียนฟังคนขับคนนั้นรู้เรื่องหมดทุกอย่างแต่ดูเหมือนว่าเราสำเนียงไม่ดีละมั้ง
ตลอดที่เธอคุยกับคนขับรถเมล์ ผมฟังคนขับรถเมล์ไม่ออกเลย ฟังออกแต่สิ่งที่คุณพูด
นี่เป็นคำพูดของเพื่อนต่างชาติที่ร่วมเดินทางด้วยกันในครั้งนั้น ผู้เขียนเลยไม่แน่ใจว่าระหว่างไทย-ลิช กับสก๊อต-ทิช เนี่ย อันไหนมันแย่กว่ากัน เอาเป็นว่าพยายามสื่อสาร ชี้ๆ เดี๋ยวก็รู้เรื่องกันเองละคะ คนสก๊อตก็น้ำใจดีใช้ได้อยู่คะ